หน้าหลัก
/
blog
/
article
บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร

บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร

 คุณธีรานันท์ กิตติศรีวรนันท์
 บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร เรียบเรียงโดยดร.สิงห์ทน นราสโภ
 2022-11-09T03:54:51.950Z
บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร เรียบเรียงโดยดร.สิงห์ทน นราสโภ
บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร กรณีสวดให้ตนเอง
ก่อนสวดมนต์พลิกชีวิตให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

อาราธนาคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยการอนุโมทนามัย และบารมีปกป้อง
เมตตาเปิดทางการเจริญพุทธมนต์บทสำคัญนี้ ขอวาจาสิทธิ์บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์
“โอม อุ มะ นมัสสิตะวา นบพระศาสดา นบธรรมคัมภีร์ นบสงฆ์สิกขา นบอาจารี นบโหราตรี
เวทย์วิทย์ ศาสตร์ไสย พระพุทธัง ประสิทธิ พระธัมมัง ประสิทธิ พระสังฆัง ประสิทธิ เทวดา ประสิทธิ
อาจารย์ ประสิทธิ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ สิทธิเตโช สิทธิลาโภ สัพพะสิทธิ ภะวันตุเม
ประสิทธิเม อาจารย์”
ข้าพระพุทธเจ้า ... ขออนุโมทนาความดีกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
นับตั้งแต่องค์ปฐม (พระพุทธเจ้าพระองค์แรก) จนถึงพระองค์ปัจจุบัน
ขออนุโมทนาความดีกับพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ ขออนุโมทนาความดีกับพระธรรมทุกธรรมบท
ขออนุโมทนาความดีกับพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทุกพระองค์ ขออนุโมทนาความดีกับพรหมเทพ
พระโพธิสัตว์ที่เป็นสัมมาทิฐิทุกพระองค์
ขออนุโมทนาความดีกับเทวดาที่ทำหน้าที่ดูแลการเจริญพุทธมนต์ของชาวพุทธทุกพระองค์
ขออนุโมทนาความดีกับเทวดาที่ทำหน้าที่ดูแลการเจริญสมาธิวิปัสสนากรรมฐานของชาวพุทธทุกพระอ
งค์ ตลอดจนท่านเจ้าที่เจ้าทาง เจ้าบ้านเจ้าเรือนที่ปกปักรักษาที่แห่งนี้ รวมถึงเทพสถิตย์ในวัตถุมงคล
เครื่องราง-ของขลังในที่นี้ ครูบาอาจารย์และเทวดาประจำตัวของข้าพเจ้าก็ดี
ขอพระเมตตาจากทุกท่านทุกพระองค์ ทั้งที่ทราบนามและ ไม่ทราบ ทั้งที่ระลึกได้และระลึกไม่ได้
ได้โปรดเปิดทาง เปิดโอกาสให้ข้าพระพุทธเจ้า เจริญพุทธมนต์บทสอนเจ้ากรรมนายเวร
(เรียบเรียงโดยพระอาจารย์ ดร. สิงห์ทน นราสโภ) ได้เป็นผลสัมฤทธิ์ สำเร็จ
เกิดประโยชน์สุขทันทีทันใด ก่อเกิดปัญญารู้แจ้งในกฎแห่งกรรม เข้าถึงสัจจธรรมได้โดยง่าย
และได้โปรดคุ้มครองป้องภัยแก่ข้าพระพุทธเจ้า ในระหว่างที่เจริญพุทธมนต์บทนี้ด้วยเถิด
นะทรงฟ้า โมทรงดิน พุทธทรงสินธุ์ ธาทรงสมุทร ยะทรงอากาศ พุทธังแคล้วคลาด
ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด ศัตรูภัยพาล วินัสสันติ นะ กาโร กะกุสันโธ สิโรมัชเฌ โมกาโร
โกนาคะมะโน นานาจิตเต พุทธะกาโร กัสสะโป พุทโธ จะ ทะเวเนเต ธา กาโร ศรีศากะยะมุนี โคตะโม
ยะกันเน ยะกาโร อะริยะ เมตตรัยโย ชิวหาทีเต ปัญจะพุทธา นะมามิหัง พุทธบูชา มหาเตชะวันโต
ธัมมะบูชา มหาปัญโญ สังฆะบูชา มะหาโภคะวะโห อะระหังพุทโธ อิติปิโสภะคะวา นะมามิหัง
มหามุทิตาโมทนาสาธุทิพย์ มหามุทิตาโมทนาสาธุทิพย์ มหามุทิตาโมทนาสาธุทิพย์

บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ ครั้ง)

ต่อด้วย บทสวดไตรสรณคมน์

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง
เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ (อ่านว่า วิญญูฮีติ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ
ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
(เมตตา)
สัพเพ สัตตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ (กรุณา)
สัพเพ สัตตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ (มุทิตา)
สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง
กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ (อุเบกขา)
ทุกขโต ทุกขะฐานันติ วะทันติ พุทธา นะ หิ เวเรนะ เวรานิ สัมมันตีธะ กุทาจะนัง อะเวเรนะ จะ สัมมันติ
เอสะ ธัมโม สะนันตะโนฯ
พุทโธ พุทธัง รักษา ธัมโม ธัมมัง รักษา สังโฆ สังฆัง รักษาฯ พุทโธ พุทธัง อะระหัง ธัมโม ธัมมัง
อะระหัง สังโฆ สังฆัง อะระหังฯ พุทโธ พุทธัง กัณหะ ธัมโม ธัมมัง กัณหะ​ สังโฆ สังฆัง กัณหะ อายุ
วัณโณ สุขัง พะลัง ภะวันตุ เม* (สวดให้ตนเอง)
นะสาเปเส พุรุอะกัง ปะริปัตตัง ปะริขันตัง มัจจุราชา นะ ภาสะติ มัจจุราชา นะ ปัสสะติฯ
สุญญะโต โลกัง อะเวกขัสสุ ...(ชื่อตนเอง)... สะทา สะโต อัตตานุทิฏฐิง อูหัจจะ เอวัง มัจจุตะโร
สิยา เอวัง โลกัง อะเวกขันตัง มัจจุราชา นะ ปัสสะติฯ
อิมัง สัจจะวาจัง อธิฏฐามิ
ทุติยัมปิ อิมัง สัจจะวาจัง อะธิฏฐามิ
ตะติยัมปิ อิมัง สัจจะวาจัง อะธิฏฐามิ
โย ทัณเฑนะ อทัณเฑสุ​อัปปะทุฏเฐสุ ทุสสะติ ทะสันนะมัญญะตะรัง ฐานัง​ขิปปะเมวะ นิคัจฉะติ
เวทะนัง ผะรุสัง ชานิง สะรีรัสสะ จะ เภทะนัง คะรุกัง วาปิ อาพาธัง จิตตักเขปัง วะ ปาปุเณ ราชะโต วา
อุปะสัคคัง ​อัพภักขาณัง วะ ทารุณัง ปะริกขะยัง วะ ญาตีนัง โภคานัง วะ ปะภังคุณัง อะถะ วาสสะ
อะคะรานิ อัคคิ ฑะหะติ ปาวะโก กายัสสะ เภทา ทุปปัญโญ นิระสัง โส อุปปัชชะติฯ

หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติฯ
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจาฯ
อุททิฏฐัง โข เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ
โอวาทะปาฏิโมกขัง ตีหิ คาถาหิ สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง ​กุสะลัสสูปะสัมปะทา
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง เอตัง พุทธานะ สาสะนังฯ ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ​นิพพานัง ปะระมัง
วะทันติ พุทธา นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี​ สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต อะนูปะวาโท
อะนูปะฆาโต​ ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง อะธิจิตเต จะ อาโยโค เอตัง พุทธานะ สาสะนันติฯ

เมตตานิสังสะสุตตะปาโฐ

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ
อาราเมฯ ตัต์ระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง
ภะคะวา เอตะทะโวจะ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ
วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม
เอกาทะสะฯ สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฏิพุชฌะติฯ นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติฯ มะนุสสานัง ปิโย โหติฯ
อะมะนุสสานัง ปิโย โหติฯ เทวะตา รักขันติฯ นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติฯ ตุวะฏัง จิตตัง
สะมาธิยะติฯ มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติฯ อะสัมมูฬ์โห กาลัง กะโรติฯ อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต
พรัหมะโลกูปะโค โหติฯ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ
วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาติฯ
อิทะมะโวจะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติฯ
อายุวัฑฒะโก ธะนะวัฑฒะโก สิริวัฑฒะโก ยะสะวัฑฒะโก พะละวัฑฒะโก วัณณะวัฑฒะโก
สุขะวัฑฒะโก โหตุ สัพพะทาฯ ทุกขะโรคะภะยา เวรา ​โสกา สัตตุ จุปัททะวา อะเนกา อันตะรายาปิ
​วินัสสันตุ จะ เตชะสา ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง ​โสตถิ ภาค๎ยัง สุขัง พะลัง สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง
วุฑฒี จะ ยะสะวา สะตะวัสสา จะ อายู จะ ​ชีวะสิทธี ภะวันตุ เมฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ​สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ

-----------------

คำแปล บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวรและเพื่อให้เกิดพลังคุ้มครองตนเอง
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

(ว่า ๓ ครั้ง)

​ เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปแล้วด้วยดี
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ
จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด
ปฏิบัติตรงแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือคู่แห่งบุรุษสี่คู่
นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
ขอให้สรรพสัตว์ผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อย่ามีเวรต่อกันเลย อย่าพยาบาทปองร้ายกันเลย อย่ามีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
ขอให้มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด (แผ่เมตตา)
ขอให้สรรพสัตว์ผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
จงพ้นจากความทุกข์โดยประการทั้งปวงเถิด (แผ่กรุณา)
ขอให้สรรพสัตว์ผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อย่าได้ปราศจาก
และอย่าได้พลัดพรากจากสมบัติ และบุคคลที่เป็นที่รักที่ตัวมีอยู่เถิด (แผ่มุทิตา)
สรรพสัตว์ผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้มีกรรมเป็นทายาท เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่ว จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น (แผ่อุเบกขา)
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต่างตรัสสอนไว้ว่า ทำทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นจะมาถึงตน ในกาลไหนๆ
เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร เวรทั้งหลายย่อมระงับด้วยการไม่จองเวรเท่านั้น
ขอคุณพระศรีรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ จงปกป้องคุ้มครองรักษา
ทั้งคุณญาณบารมีของพระอริยะ ผู้ทรงอภิญญาทั้งหลาย จงช่วยปกป้องคุ้มครอง ช่วยให้มีอายุยืนยาว
มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุข และมีพลังคุ้มครอง เป็นเหตุให้เกิดพลังปาฏิหาริย์อันเป็นอัศจรรย์
ทำให้พญามัจจุราช (เจ้ากรรมนายเวร) ไม่พูดถึงและมองไม่เห็น (ข้าพเจ้า) นี่แน่ะ...... (ใส่ชื่อตัวเรา)
เธอจงมองโลกหรือตัวเองให้ว่างเปล่า (ไม่มีตัวตน) เมื่อเข้าใจมองโลกหรือตัวเองว่า ว่างเปล่า
(ไม่มีตัวตน) มัจจุราช (เจ้ากรรมนายเวร) จะมองไม่เห็นเธอ
ขอกล่าวย้ำอธิษฐานขอให้เป็นจริงอย่างนั้นอย่างแท้จริง แม้ครั้งที่สอง
ขอกล่าวย้ำอธิษฐานขอให้เป็นจริงอย่างนั้นอย่างแท้จริง แม้ครั้งที่สาม
ขอกล่าวย้ำอธิษฐานขอให้เป็นจริงอย่างนั้นอย่างแท้จริง
ผู้ใดประทุษร้าย หรือคิดร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย หรือไม่เคยคิดร้ายต่อ
ลงโทษผู้ที่ไม่เคยทำความผิด ย่อมได้รับภัยร้ายแรง ๑๐ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างทันตาเห็น คือ
๑. ได้รับทุกขเวทนา หรือทุกข์ทรมานอย่างแรงกล้า
๒. สรีระร่างกายถูกทำลาย
๓. เจ็บป่วยอย่างหนัก
๔. มีจิตฟุ้งซ่านอย่างหนักอาจถึงกับเป็นบ้า
๕. ถูกทางราชการทำโทษอย่างรุนแรง
๖. ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดอย่างร้ายแรง
๗. สูญเสียญาติขาดมิตร
๘. ทรัพย์สมบัติมีอันพินาศฉิบหาย
๙. ไฟป่าหรือไฟไหม้บ้านชนิดไม่ทราบสาเหตุไม่น่าจะเกิดภัยเช่นนั้น
๑๐. ตายไปแล้วยังตกนรกชดใช้กรรมต่อ
มานี่สิภิกษุทั้งหลาย มา ณ บัดนี้ ฉันขอเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลาย
(คือสิ่งที่ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ปรุงแต่งให้เป็นตัวตน) มีความเสื่อมสิ้น
สลายไปเป็น ธรรมดา พวกเธอพึงดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด (คือให้มีสติควบคุมเสมอ
อยู่กับปัจจุบันด้วยความมีสติเสมอ) นี้เป็นพระวาจาสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ คือหลักคำสอนสำหรับผู้จะปฏิบัติตน
เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นหลักการโดยย่อว่า การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขันติ

คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย การสำรวมในปาติโมกข์ ความเป็นผู้รู้ ประมาณในการบริโภค การนอน
การนั่ง ในที่อันสงัด ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง ธรรม ๖ อย่างนี้
เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เมตตานิสังสะสุตตะปาโฐ

บทสวดพระสูตรว่าด้วยอานิสงส์ของการเจริญเมตตาธรรม

ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ฯ
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร
อารามของอนาถะบิณฑิกะคฤหบดีแห่งกรุงสาวัตถี ในกาลนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมตตาอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นแห่งจิตนี้ อันบุคคลบำเพ็ญจนคุ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้มากแล้วคือชำนาญให้ยิ่ง เป็นที่พึ่งของใจ ทำให้เป็นที่อยู่ของใจตั้งไว้เป็นนิจ
อันบุคคลสั่งสมอบรมแล้ว บำเพ็ญให้มากแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ ๑๑ ประการ อย่างนี้ อานิสงส์ ๑๑
ประการ อะไรบ้าง ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น
(๑) ย่อมหลับเป็นสุข
(๒) เมื่อตื่นขึ้นก็ย่อมอยู่เป็นสุข
(๓) หลับอยู่ก็ไม่ฝันร้าย
(๔) เป็นที่รักของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย
(๕) เป็นที่รักของเหล่า อมนุษย์ทั้งหลาย
(๖) เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา
(๗) ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศาตราวุธก็ดี ย่อมทำอันตรายไม่ได้เลย
(๘) จิตย่อมเป็นสมาธิได้รวดเร็วอย่างยิ่ง
(๙) ผิวหน้าย่อมผ่องใส
(๑๐) เป็นผู้ไม่ลุ่มหลงเมื่อทำ กาลกิริยาตาย
(๑๑) เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษอันยิ่งๆ ขึ้นไป ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นแห่งจิตนี้ อันบุคคลบำเพ็ญจนคุ้นแล้ว
ทำให้มากแล้ว ทำให้มากแล้วคือชำนาญให้ยิ่ง เป็นที่พึ่งของใจ ทำให้เป็นที่อยู่ของใจตั้งไว้เป็นนิจ
อันบุคคลสั่งสมอบรมแล้ว บำเพ็ญให้มากแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ ๑๑ ประการอย่างนี้แล
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว
พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีใจยินดีพอใจในภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ด้วยประการฉะนี้แล

ความเจริญอายุ ความเจริญทรัพย์ ความเจริญศิริ ความเจริญยศ ความเจริญพละกำลัง
ความเจริญวรรณะผิวพรรณ ความเจริญสุข จงมี (แก่ข้าพเจ้า) ในกาลทั้งปวง ทุกข์ โรคภัย เวรทั้งหลาย
ความโศก ศัตรู อุปัทวะทั้งหลายและอันตรายทั้งหลายเป็นอเนก จงพินาศไปด้วยเดช ความชนะ
ความสำเร็จ ทรัพย์ลาภ ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข พละกำลัง ศิริอายุ วรรณะ ผิวพรรณ โภคะ
ความเจริญ ความเป็นผู้มียศ อายุยืนร้อยปี และความสำเร็จในชีวิตจงมีแก่ข้าพเจ้าฯ
ขอสรรพมงคล จงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ขอสรรพมงคล จงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ขอสรรพมงคล จงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
จบท้ายให้ท่านหลับตาอธิษฐานในใจว่า “ขออโหสิๆๆ ได้โปรดให้อโหสิกรรมด้วยเถิด ขอเราและท่าน
จงเป็นอิสระจากวิบากเวรกรรมร่วมของกันและกัน ณ บัดนี้เทอญ”
วิธีการปฏิบัติ สวดมนต์ให้ได้ผลพลิกชีวิต
๑. เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้จากใจ
๒. เคารพและยอมรับกฎแห่งกรรมว่าเป็นจริงให้ผลตามจริงเป็นจริงและเที่ยงธรรม
๓. สมาทานศีลห้าก่อนสวดมนต์ทุกครั้ง (พยายามรักษาให้บริสุทธิ์มากเท่าที่ทำได้)
เหตุเพราะว่า ผู้มีศีลย่อมมีความน่าเชื่อถือต่อจิตวิญญาณทั้งหลาย
๔. ระลึกถึงความตายเสมอ เพราะชีวิตนี้ส่วนมากอายุก็ไม่เกินร้อยปี
และทุกชีวิตต้องตายทั้งหมดทั้งสิ้น
๕. ระลึกถึงอนัตตา คือความว่างเปล่า ไม่มีตัวตน
วางแล้วว่างจากความยึดมั่นทั้งปวงด้วยปัญญา
หากผู้ปฏิบัติทำได้ทั้งหมดนี้ สามารถเห็นผลได้ ใน 30 วัน
เนื่องจากการใช้บทนี้ต้องมีบุญกุศลมาใช้จ่ายหนี้เจ้ากรรมนายเวร
ผู้ใช้บทนี้จึงจำเป็นต้องทำบุญทำทานต่อเนื่องสม่ำเสมอ จะเล็กหรือใหญ่ได้ทั้งนั้น
แต่ถ้าไม่มั่นใจว่าตนเองมีบุญพอจะชดใช้หนี้กรรม ให้เตรียมตัวทานเจ 3 วัน ใส่บาตรพระ 3 วัน
ก่อนเริ่มต้นการสวดมนต์บทสอนเจ้ากรรมนายเวร
แชร์บทความ
บทความอื่นๆ
ความหมายของตัวเลขเบอร์โทรศัพท์ 00-99 อ่านเพิ่มเติม
ความหมายของตัวเลข-99 ผู้ใช้เลขนี้มักจะสนใจศึกษาค้นคว้าในเรื่องเหนือธรรมชาติ เรื่องอัศจรรย์ สิ่งเร้นลับ
ความหมายของตัวเลข-89-98เผด็จการ เจ้าระเบียบ เข้มงวด หลงตัวเอง บ้าพลัง ชอบทดลองของแปลกบางครั้งทำตัวลึกลับ
ความหมายของตัวเลข-88ต้องเรียกเลขคู่พี่เบิ้ม เพราะส่งอิทธิพลให้ผู้ใช้เป็นคนใจนักเลงใหญ่ ใจถึง
บทความอื่นๆ
ความหมายของตัวเลขเบอร์โทรศัพท์ 00-99 อ่านเพิ่มเติม
ความหมายของตัวเลข-99 ผู้ใช้เลขนี้มักจะสนใจศึกษาค้นคว้าในเรื่องเหนือธรรมชาติ เรื่องอัศจรรย์ สิ่งเร้นลับ
ความหมายของตัวเลข-89-98เผด็จการ เจ้าระเบียบ เข้มงวด หลงตัวเอง บ้าพลัง ชอบทดลองของแปลกบางครั้งทำตัวลึกลับ
ความหมายของตัวเลข-88ต้องเรียกเลขคู่พี่เบิ้ม เพราะส่งอิทธิพลให้ผู้ใช้เป็นคนใจนักเลงใหญ่ ใจถึง